ข่าว ภูมิภาค
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ร่วม คพ. ตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายแหล่งกำเนิดมลพิษทางน้ำทั่วกรุงเทพ ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก.,
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) ร่วม คพ.
ตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายแหล่งกำเนิดมลพิษทางน้ำทั่วกรุงเทพ
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก.,
พล.ต.ต.สุวัฒน์ แสงนุ่ม รอง ผบช.ก., พล.ต.ต.วัชรินทร์ พูสิทธิ์ ผบก.ปทส., พ.ต.อ.อรุณ วชิรศรีสุกัญยา
รอง ผบก.ปทส., พ.ต.อ.สมบัติ มาลัย รรท. ผกก.1 บก.ปทส. กรมควบคุมมลพิษ ภายใต้การอำนวยการของ นางสาวปรีญาพร สุวรรณเกษ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.)
 
เจ้าหน้าที่ตำรวจ นำโดย พ.ต.ท.กษิดิ์เดช เจริญลาภ รอง ผกก.1 บก.ปทส., พ.ต.ท.ธีรวัฒน์ ชูกรณ์
สว.กก.1 บก.ปทส., พ.ต.ท.ไพรวรรณ ตั้นหลก สว.(สอบสวน) กก.1 บก.ปทส. พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ
กก.1 บก.ปทส. และเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ คพ.
 
ร่วมกันดำเนินการ ตรวจสอบระบบบำบัดน้ำเสีย และการจัดทำบันทึกรายละเอียด, รายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสีย ของ แหล่งกำเนิดมลพิษทางน้ำ เช่น อาคารชุด, โรงแรม, ศูนย์การค้า, ตลาด, หอพัก และสถานบริการ ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535
 
พฤติการณ์ สืบเนื่องจากปัญหาการทิ้งน้ำเสียจากอาคาร ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างมาก
น้ำเสียจากอาคารต่างๆ เช่น อาคารชุด โรงแรม หรือศูนย์การค้า มักมีของเสียและเชื้อโรคปนเปื้อน หากไม่มีการบำบัดอย่างเหมาะสม เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.1 บก.ปทส. ได้ลงพื้นที่ปฏิบัติงานร่วมกับเจ้าพนักงาน
ควบคุมมลพิษ คพ. ออกตรวจสอบแหล่งกำเนินมลพิษ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ได้แก่ เขตสาทร, เขตวัฒนา เขตประเวศ, เขตบางนา และเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย พบว่ามีระบบบำบัดน้ำเสีย พร้อมจัดทำรายงานการทำงานของระบบบำบัดและเจ้าพนักงานควบคุมมลพิษ คพ. ได้เก็บตัวอย่างน้ำจากระบบบำบัดน้ำเสียของอาคารไปตรวจสอบต่อไป
 
ข้อแนะนำ เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารต่างๆ ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535 ต้องจดบันทึกข้อมูลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียทุกวัน ตามแบบ ทส.1 และ ต้องจัดทำรายงานสรุปผลการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียเป็นรายเดือน ตามแบบ ทส. 2 ต้องยื่นรายงานสรุปผลการทำงาน (ทส. 2) ต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น หรือ ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ต้องเก็บรักษาสถิติและข้อมูล (แบบ ทส. 1) ไว้ ณ สถานที่ตั้งแหล่งกำเนิดมลพิษเป็นเวลา 2 ปี หากไม่ดำเนินการมีโทษตามกฎหมาย เช่น
1. เจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษ ผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสีย หรือผู้รับจ้าง ให้บริการบำบัดน้ำเสียผู้ใดไม่จัดเก็บสถิติ ข้อมูล หรือไม่ทำบันทึกหรือรายงาน ตามมาตรา 80 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 106
2. ผู้ควบคุมระบบบำบัดน้ำเสียหรือผู้รับจ้างให้บริการบำบัดน้ำเสียผู้ใดทำบันทึกหรือรายงาน โดยแสดงข้อความอันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 107
 
ช่องทางการติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม พ.ต.ท.กษิดิ์เดช เจริญลาภ รอง ผกก.1 บก.ปทส. 0819911864
 
“การเผยแพร่ข่าวเป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะของประชาชน
ให้รู้เท่าทันภัยอันตรายรูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อสร้างการตระหนักรู้เป็นวงกว้าง
ทั้งนี้ ผู้ต้องหาหรือจำเลยยังเป็นผู้บริสุทธิ์ ตราบใดที่ศาลยังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุด
ดังนั้น สำหรับการเผยแพร่ข่าวของสื่อมวลชน ขอให้พิจารณาถึงประโยชน์และสิทธิของผู้ต้องหาข้างต้น”
โพสเมื่อ : 29 มิ.ย. 2568,17:17   อ่าน 12 ครั้ง